Taipei Game Show 2021 จะจัดขึ้นที่ Taipei Nangang Exhibition Center, Hall 1 ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคมถึง 31 มกราคมที่จะถึงนี้ โดยงานในครั้งนี้จะจัดในรูปแบบใหม่ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง physical และ virtual ในธีม Keep On Gaming เพื่อสะท้อนถึงจิตวิญญาณของเกมเมอร์ที่ท้าทายตนเองเสมอและไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ ให้ผู้เล่นทั่วโลกได้มาสนุกสนานไปด้วยกันแบบไร้พรมแดนด้วยเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
โซน B2C
ภายในโซน B2C ผู้เล่นจะได้สัมผัสกับเกมกว่าร้อยเกม และเพลิดเพลินไปกับทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ และรับรางวัลในเกมต่าง ๆ ด้วย เกม SLAM DUNK, ซึ่งจัดจำหน่ายโดย DeNA, จะจัดงานแข่งขันรอบเพลย์ออฟครั้งแรกที่นี่ ส่วนเกม Tower of Saviors, ก็ใกล้จะฉลองครบรอบปีที่ 8 ในไม่ช้าและจะร่วมสนุกสนานไปกับผู้เล่นผ่านรายการโชว์ที่จะสตรีมให้ชมกันเป็นเวลา 5 วันพร้อมด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ในงาน นอกจากนี้เกมใหม่อย่าง UFO Afterlight ก็จะมาเปิดตัว global beta ที่งาน Taipei Game Show เป็นที่แรก ส่วนบูธในงานอย่าง PUBG Mobile และ Punishing: Gray Raven ก็จะรังสรรค์ฉากในเกมขึ้นมาให้ชมกันในงาน ไม่เพียงเท่านั้นเกมดังอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็น Arknights, Girls’ Frontline, Honkai Impact 3rd, Genshin Impact, HOM, Azur Lane, และ Separate Identities Force ต่างก็จะเรียงแถวมาให้ได้ชมกันด้วยในปีนี้
ในด้านของเกมสัญชาติไต้หวันอย่าง Grand Fantasia Online เกมใหม่จาก X-Legend, หรือเกมมือถือ MMORPG อย่าง HUTAORIJI, เกมใหม่จาก Lunewaker Entertainment อย่าง Luna Discordia, และเกมที่กำลังเป็นที่สนใจอย่าง PAGUI และ Cooking Monster, รวมถึงบริเวณ Indie House, ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับเกมอินดี้ทั้งหลายโดยเฉพาะ ก็จะมีการแสดงเกมรวมกันทั้งหมดกว่า 50 เกมด้วยกัน
แบรนด์เกมรายใหญ่อย่าง Republic of Gamers (ROG), GIGABYE AORUS, Micro-Star International (MSI), และ Western Digital WD BLACK ต่างก็จะมานำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของตนด้วยเช่นกัน ส่วนแพลตฟอร์มเช่น Planet9 – ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีสปอร์ตเน็กซ์เจนจาก Acer – ก็จะร่วมมือกับเกมดัง ๆ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ในการเล่นเกมและความบันเทิงให้แก่ผู้เล่นด้วย
ในระหว่างงาน โชว์ออนไลน์แบบสตรีมมิ่งในชื่อ Taipei Game Show ONLINE, จะมีการถ่ายทอดสดผ่านแชนเนลบน YouTube ในชื่อ “現在不要NOW” ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคมจนถึง 31 มกราคม ซึ่งในส่วนของ open studio ก็จะมีสิ่งน่าสนใจถึง 20 รายการด้วยกัน ※ลิงก์ YouTube Channel ”現在不要NOW”
โซนที่ได้รับความสนใจระดับ Top Three
ในทุกปี Indie House และ Board Game Wonderland ถือเป็นโซนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากบรรดาผู้เยี่ยมชมทั้งหมด และในปีนี้ Indie House ก็ได้นำเกมอินดี้ 52 เกมจากออสเตรีย, ฮ่องกง, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกาและได้หวันมาไว้ด้วยกัน ส่วน Board Game Wonderland ก็ได้รวบรวมแบรนด์บอร์ดเกมจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้าไว้ด้วยกันถึง 25 แบรนด์ ซึ่งก็รวมถึงบอร์ดเกม IP ดัง ๆ เช่น Minecraft ที่จะมาเปิดตัวครั้งแรก, Small World of Warcraft (เวอร์ชันจีน), Splendor Marvel (เวอร์ชันจีน), และ The Lord of the Rings: Journeys in Middle Earth (เวอร์ชันจีน). และรายละเอียดล่าสุดของ Star Wars: Unlock! (เวอร์ชันจีนดั้งเดิม) ก็จะมาเผยให้ได้ชมกันเช่นกัน
เวทีแข่งขันอีสปอร์ตก็จะเต็มไปด้วยการแข่งขันระดับออลสตาร์ ประกอบไปด้วยการแข่งเกม Just Dance 2021, League of Legends: Wild Rift, Valorant, Fight of Animals: Arena, Legends of Runeterra, และ Conqueror’s Blade เงินรางวัลรวมถึงรางวัลต่าง ๆ ที่เป็นอุปกรณ์เล่นเกมนั้นมีมูลค่ารวมสูงสุดถึง 200,000 NTD เลยทีเดียว
โซน B2B
Taipei Game Show ได้เริ่มใช้งานแพลตฟอร์มใหม่ของตนในชื่อว่า GAME LINKER, ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแสดงเกมแบบออนไลน์และยังเป็น business solutions ตลอดทั้งปี นอกจากนี้จะยังมีการจัด pavilions ในระดับสากลเป็นครั้งแรก ซึ่งจะประกอบไปด้วย Hong Kong Digital Entertainment Association (HKDEA), Malaysia Digital Economy Corporation (MDEC), Korea Creative Content Agency (KOCCA), และ Busan IT Industry Promotion Agency (BIPA) โดยที่ทุก pavilions ต่างก็จะมีโชว์ออนไลน์ของตัวเองเพื่อเชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจในระดับโลก
โซน B2B จะมีบริษัทกว่า 300 บริษัทที่เข้าร่วม business networking แบบออนไลน์ครั้งนี้ บริษัทเหล่านี้มาจากกว่า 35 ประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ประกอบไปด้วยญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, จีน, ฟิลิปปินส์, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สหรัฐอเมริกาและแคนาดา บริษัทที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกอย่าง XBOX, PubMatic, Gravity, Nicalis, Definite Studios, และ G-angle, รวมถึงผู้พัฒนาเกมอินดี้อย่าง Funselektor, ION LANDS, และ Bedtime Digital Games ก็จะมาเข้าร่วมในปีนี้เช่นกัน บริษัทเกมไต้หวันประกอบไปด้วย Softstar, Soft-World, Chinese Gamer Int., Funyours Technology, Appier, Seedo Studio, และ BearBone Studio ก็จะมาร่วมงานครั้งนี้ผ่านทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และมีบูธที่ศูนย์จัดแสดงด้วยเช่นเดียวกัน
Indie Game Award, ซึ่งเป็นรางวัลที่นักพัฒนาเกมอินดี้จากทั่วโลกต่างเฝ้ารอคอยก็ได้เข้าสู่ปีที่ 7 แล้ว ด้วยบริษัทการตลาดดิจิทัลที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกอย่าง Xsolla ที่จะมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนรางวัลแต่เพียงผู้เดียวในครั้งนี้ และจำนวนประเทศที่เข้าร่วมงานชิงรางวัลครั้งนี้ก็ถือได้ว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา มีจำนวนเกมทั้งหมด 144 เกมจาก 36 ประเทศและภูมิภาคที่จะมาแข่งขันกันเพื่อชิงรางวัลทั้ง 9 รางวัล พิธีเปิดงานแบบออนไลน์จะถ่ายทอดในวันที่ 28 มกราคมผ่านช่องทาง YouTube ทางการของ Taipei Game Show และจะมีการประกาศผู้ได้รับรางวัลผ่านช่องทางดังกล่าว
APGS ONLINE
Asia Pacific Game Summit (APGS) ในครั้งนี้จะจัดแบบออนไลน์เท่านั้น โดยงานสัมมนานี้ได้เชิญเหล่าผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ จากไต้หวัน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, จีน, ไทย, สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสมาแบ่งปันความรู้ในสาขาอาชีพและเทรนด์ล่าสุดของอุตสาหกรรมเกมให้ได้รับฟังกัน การพูดคุยจะเริ่มเวลา 14:00 น. (เวลาไทย) ในวันที่ 28 และ 29 มกราคม ผ่านช่องทาง YouTube ทางการของ Taipei Game Show และจะมีซับไตเติลภาษาจีนกับอังกฤษให้ได้อ่านกันด้วย
ในงานวันแรกคุณ Shinji Hashimoto ผู้อำนวยการบริหารอาวุโสจากบริษัทเกมญี่ปุ่นชื่อดัง SQUARE ENIX จะมาเป็นแขกรับเชิญพิเศษเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในช่วง 30 ปีของแบรนด์ Final Fantasy ส่วน Pentium Network ก็จะมาพูดคุยกับเกี่ยวกับเทรนด์ IT ในอุตสาหกรรมเกม สำหรับ Infobip จะมาพูดคุยเกี่ยวกับ SaaS (Software as a Service) ที่ช่วยให้อุตสาหกรรมเกมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นทั่วโลกได้ และ Vermillion Digital จากประเทศไทยจะมาพูดคุยเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือจาก third-party อย่างไรให้ลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเกม สุดท้ายคือ BINGOB, ELL จากประเทศจีนที่จะมาแบ่งปันรายละเอียดเกี่ยวกับการริเริ่มโครงการและการทำตลาดวิดีโอเกม
ในวันที่สองคุณ Rod Chang, ผู้อำนวยการอาวุโสจาก Microsoft XBOX Asia จะมาแบ่งปันรายละเอียดเกี่ยวกับว่า XBOX ให้ความร่วมมือกับนักพัฒนาเกมอย่างไร ส่วน PubMatic จะมาพูดคุยเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญที่นักพัฒนาจะต้องพิจารณาเมื่อคิดที่จะโฆษณาเกมเพื่อทำกำไรในระดับโลก นอกจากนี้แล้ว Riversense Games, BattleBrew Productions, Folktales Digital และ Muse Games ต่างก็จะมาแบ่งปันความรู้ในการพัฒนาเกมให้ได้รับฟังกันด้วย
แล้วทีมงานไทยเกมวิกิจะหาสิ่งที่น่าสนใจมานำเสนอในโอกาสต่อไปครับ